หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

ASEAN

ASEAN
Association of Southeast Asian Nations
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"One  Vision,One  Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม

กำเนิดอาเซียน
 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย

นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) 

ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) 

นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) 

นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์)

พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม 5 ประเทศ ได้แก่ 

- บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) 

- เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) 

- ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) 

- กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542)  

ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

สีเหลือง   หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง 

สีแดง      หมายถึง    ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

สีขาว     หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 

สีน้ำเงิน     หมายถึง     สันติภาพและความมั่นคง



  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย
    (1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
    และ การลดปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี ค.ศ. 2020
    (2) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ
    ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว
    (3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ
    CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทาง เศรษฐกิจของอาเซียน
    (4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้าน การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการ ศึกษาและการพัฒนาฝีมือ

  • ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญจำนวน 11 สาขา
    ให้เป็น สาขานำร่อง ได้แก่ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ /
    ยานยนต์ / อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ,
    ท่องเที่ยวและการขนส่ง ทางอากาศ (การบิน) ซึ่งอาเซียนได้ดำเนินการดังนี้
  • กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่  
         * ไทย : ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
    •  พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
    •  อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
    •  มาเลเซีย : ยางและสิ่งทอ
    •  ฟิลิปปินส ์: อิเล็กทรอนิกส์
    •  สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ
  • จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว คือ Framework
    Agreement for the Integration of the Priority Sectors และพิธีสาร สำหรับแต่ละสาขา คือ
    ASEAN Sectoral Integration Protocol
     อีก 11 ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการ ร่วมที่จะใช้ในการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขา โดยมีมาตรการสำคัญคือ
    การเปิดเสรีการค้า สินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้าน การค้า
    และ การลงทุน
     การส่งเสริมการค้า และการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ 
  • กำหนดให้ปี ค.ศ. 2010 เป็น deadline สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขา
    ดังกล่าว โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)

·         ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
·                    ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
·                  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
·                  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
·                  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
·         1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
·         (ASEAN Political and Security Community – APSC)
·                    มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของ ภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ    
·                   1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
·                   2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน ที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุข และไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
·                   3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
·         2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน                                                (ASEAN Political-Security Community-AEC)
·                   มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ 4 ด้าน คือ
·                  1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
·                  2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
·                  3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
·                  4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
·         3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
·         (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
·                   อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ   ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน(ASEAN Identity)เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
·         1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
·         2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
·         3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
·         4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
·         5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
·         6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
·         ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน